“เงินกับการเมือง” โดย ลอแรนซ์ ลาบาดี
เอริค เอฟ. บทความต้นฉบับ: Laurance Labadie’s “Money and Politics,” 27 มกราคม 2022. แปลเป็นภาษาไทยโดย Kin
โดย เอริค เอฟ.
เงิน โดยเฉพาะเงินประเภทเครดิต (credit money) คือหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย หากไม่มีเงิน การแบ่งงานกันทำอย่างละเอียดซับซ้อนย่อมดูจะเป็นไปไม่ได้เลยยกเว้นในระบบที่รัฐควบคุมอุตสาหกรรมไว้ทั้งหมด และแม้ในกรณีเช่นนั้นเองก็ตาม เราก็ยังจำเป็นต้องมีบางสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเงินเพื่อควบคุมและตรวจสอบการบริโภค
เราจะไม่เข้าใจเงินถ้าไม่คิดถึงมาตรฐานของมูลค่า (standard of value) และฐานของการออกเงิน (basis of issue) ไปพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นการกล่าวว่า “เป็นความหลงผิดอย่างร้ายแรงที่เชื่อว่าเงินต้องมีอะไรมารองรับมูลค่า” จึงเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะเงินในฐานะการอ้างสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่มีแก่นสารกว่าแค่คำมั่นสัญญาเลื่อนลอยเพื่อให้ตัวมันมั่นคง มีเสถียรภาพ หรือเชื่อถือได้ และสิ่งนั้นย่อมต้องเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้ กล่าวคือเป็นอะไรก็ตามที่มีมูลค่าและไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง
นอกจากนี้ การคิดว่าภายในระบบการเงินที่สมเหตุสมผลจริงๆ การกักตุนเงิน (hoarding) จะก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ก็เป็นแนวคิดที่ไร้สาระเช่นเดียวกันกับการกล่าวว่าผู้ที่เก็บเงินไว้สำหรับใช้ในยามลำบากจะต้องตกระกำลำบากเสียเอง ไม่มีเหตุผลอะไรให้เชื่อว่า การกักตุนเงิน ซึ่งเป็นเพียงการเลื่อนการบริโภคออกไป โดยพื้นฐานแล้วจะเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือการกระจายความมั่งคั่งใดๆ ได้ เมื่อเข้าใจว่าขีดจำกัดตามธรรมชาติของเงินประเภทเครดิตอยู่ที่มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นฐานรองรับ การคิดว่าการกักตุนเงินจะทำให้ปริมาณเงินที่จำเป็นในระบบลดลงจึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างชัดเจน ตราบใดที่ยังมีทรัพย์สินที่ไม่ได้ถูกนำมาแปลงเป็นเงิน
“ความหลงผิดอย่างร้ายแรง” อีกอย่างคือการเชื่อว่า “การเพิ่มหรือลดปริมาณเงินที่เหมาะสม” สามารถส่งผลต่อมูลค่าของเงินหรือ “ทำให้มูลค่ามั่นคง” ได้ เงินเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะจ่าย หากสมิธมีข้าวสาลี 1,000 บุชเชล และออกสัญญา 100 ฉบับ โดยแต่ละฉบับแทนข้าว 1 บุชเชล การออกสัญญาเพิ่มอีก 100 ฉบับ จะกระทบต่อมูลค่าสัญญาเหล่านั้นได้อย่างไร มูลค่าจะลดลงก็ต่อเมื่อเขาออกสัญญามากเกินกว่าสินทรัพย์ที่มี หรือก็คือเมื่อไม่มี “สิ่งที่รองรับมูลค่าของเงิน” ความไร้เสถียรภาพเป็นคุณลักษณะของระบบเงินที่บกพร่อง
ท้ายที่สุด อะไรคือปัญหาว่าด้วยเงิน ปัญหานั้นก็คือการจัดหาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่มั่นคงด้วยต้นทุนต่ำ ดอกเบี้ยมักได้รับการพิสูจน์อยู่บ่อยครั้งว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เป็นธรรมชาติและเป็นสาเหตุหลักของการกดขี่ขูดรีด ดอกเบี้ยอาจเกิดจากสองสิ่ง ได้แก่ การขาดแคลนเงินหรือการควบคุมการออกเงินโดยกลุ่มคนไม่กี่คน ปัจจุบันดอกเบี้ยเกิดจากทั้งสองปัจจัย แต่ส่วนใหญ่เป็นอย่างหลัง ต้นทุนแรงงานที่แท้จริงของการธนาคารอาจไม่เกินครึ่งเปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกินกว่านั้นล้วนแต่เป็นดอกเบี้ย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการปล้นและฉ้อโกง
เท่าที่เรารู้ ทองคำเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับการเป็นมาตรฐานของมูลค่า ทองคำมีมูลค่าที่ค่อนข้างมั่นคง มีประโยชน์ ทนทาน สังเกตได้ง่าย มีคุณภาพที่สม่ำเสมอ สามารถแบ่งย่อยได้โดยไม่สูญเสียมูลค่า และยังมีมูลค่าสูงในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับสิ่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ทองคำเป็นฐานการออกเงินตราที่ไม่ค่อยดีนักหากวัดในแง่ของปริมาณทองคำ แต่ทองคำควรมีโอกาสเทียบเท่ากับสิ่งอื่นๆ ในการทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับการออกเงิน
ทุกวันนี้เราเห็นภาพของอภิสิทธิ์ชนเจ้าของทองคำได้รับดอกเบี้ยผ่านระบบธนาคารกลางสหรัฐในอัตราที่สูงถึง 8 ถึง 15 เท่าของเงินทุนเดิมของพวกเขา เมื่อเข้าใจว่า ดอกเบี้ยจากเงินเป็นสาเหตุหลักของกำไรทางธุรกิจ ความเลวร้ายของการหลอกลวงนี้ก็ปรากฏชัดเจน สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจ คือการแยกความแตกต่างระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงิน ภาคการเงินนั้นแทบจะเป็นแค่ปลิงดูดทรัพยากร (pure leachery) สุดท้ายผลประโยชน์ของธนาคารจึงกลืนกินและเข้าควบคุมภาคอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หมายเหตุ โดย เอริค ไฟล์ชแมนน์:
บทความชิ้นนี้อยู่ในคอลเลกชันผลงานของโจเซฟ เอ. ลาบาดี ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมิชิแกน เดิมเขียนขึ้นสำหรับวารสารอนาธิปไตยฉบับที่สองชื่อ Mother Earth ตีพิมพ์ในปี 1933 โดยจอห์น จี. สก็อตต์และโจ แอนน์ วีลเลอร์ งานชิ้นนี้ดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในงานนับร้อยชิ้นที่ลาบาดีเขียนถึงเงิน คอร์ด นักเขียนนิรนามใน Anarcho-Pessimism เขียนไว้ว่า “ด้วยไม่ยี่หระกับกระแสนิยมของผู้คนในยุคนั้นเป็นทุนเดิม ลาบาดีได้เขียนหลักการพื้นฐานว่าด้วยแนวคิดเชิงสมรู้ร่วมคิดเกี่ยวกับเงินขึ้นในทศวรรษ 1930 โดยสื่อเป็นนัยว่า การปฏิรูปเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถยกระดับเป็นการสนับสนุนแนวคิดปัจเจกนิยมและเสรีภาพได้น่าจะเป็นการแยกเงินออกจากรัฐ!” ในหมายเหตุสำหรับโครงการ Laurance Labadie Archival Project ชิ้นนี้ ผมอยากจะพูดถึงทฤษฎีเรื่องเครดิตของลาบาดี ต่อด้วยการชวนคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับระบบธนาคารกลางของสหรัฐฯ
สำหรับลาบาดี “ข้อจำกัดโดยธรรมชาติของเงินประเภทเครดิตก็คือปริมาณของความมั่งคั่งที่เป็นฐานรองรับมูลค่าของเงิน” ด้วยเหตุนี้ “เงินในฐานะการอ้างสิทธิ์เหนือทรัพย์สิน ย่อมต้องอาศัยสิ่งที่มีแก่นสารกว่าแค่คำมั่นสัญญาเลื่อนลอยเพื่อให้ตัวมันมั่นคง มีเสถียรภาพ หรือเชื่อถือได้ และสิ่งนั้นย่อมเป็นความมั่งคั่งที่จับต้องได้ กล่าวคือเป็นอะไรก็ตามที่มีมูลค่าและไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง” ข้อเสนอนี้ตรงกันข้ามกับความเข้าใจเรื่องเครดิตของเควิน คาร์สัน (Kevin Carson) ในหนังสือ The Desktop Regulatory State ซึ่งถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องระบบการชำระหนี้แบบหักเครดิตร่วมกัน (mutual credit-clearing system) ซึ่งธุรกิจต่างๆ “ใช้จ่ายเงินขึ้นมา (spend money into existence) ด้วยการก่อหนี้เพื่อซื้อสินค้าภายในระบบ แล้วจากนั้นก็หาเครดิตเพื่อชดเชยหนี้เหล่านี้โดยการขายบริการของตนภายในระบบดังกล่าว สกุลเงินทำหน้าที่เป็นเสมือน IOU (ฉันเป็นหนี้คุณ) ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถสร้างมูลค่าของการผลิตในอนาคตของตนให้เป็นเงินได้” เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดที่มองเครดิตในมุมของการแลกเปลี่ยนร่วมกัน (mutualistic considerations of credit) ทั้งสองแบบ ผมสังเกตว่า แนวคิดแรกมองว่าเครดิตคือเครื่องมือหลักในการแลกเปลี่ยนผ่านการเป็นเจ้าของ “สิ่งของ” (stock) ในขณะที่แนวคิดที่สองมองว่าเครดิตเป็นกลไกสำหรับ “การไหลเวียน” (flow) ของสินค้าและบริการ แนวคิดใดคิดถูก บางทีอาจจะมีเพียงตลาดที่(ถูกทำให้)เสรีอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้
แต่ด้วยความเชื่อในเรื่องเงินประเภทเครดิตแบบกระจายศูนย์ (decentralized credit money) ลาบาดีจึงคัดค้านระบบธนาคารกลาง เช่น ระบบธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve System) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การคัดค้านระบบเฟด (Fed) ถือเป็นแนวคิดสำคัญในแนวนโยบายการเมืองแบบอิสรเสรีนิยม (libertarian politics) ของอเมริกาเหนือ เว็บไซต์ของพรรคอิสรเสรีนิยมย้ำอยู่เสมอถึง “การล้มเลิกระบบธนาคารกลางสหรัฐ, กองทุนประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (Federal Deposit Insurance Corporation), ระบบธนาคารแห่งชาติ (National Banking System), และการแทรกแซงรูปแบบอื่นๆ” อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ของลาบาดีต่อ “อภิสิทธิ์ชนเจ้าของทองคำได้รับดอกเบี้ยผ่านระบบธนาคารกลางสหรัฐในอัตราที่สูงถึง 8 ถึง 15 เท่าของเงินทุนเดิมของพวกเขา” เกิดขึ้นเกือบ 40 ปีก่อนที่เดวิด โนแลน (David Nolan) จะก่อตั้งพรรคอิสรเสรีนิยมเพื่อตอบโต้ต่อการล้มเลิกมาตรฐานทองคำบางส่วนของประธานาธิบดีนิกสันในปีเดียวกับที่ลาบาดีเขียนบทความชิ้นนี้ ที่จริงแล้ว ลาบาดีเขียนบทความนี้เกือบ 20 ปีก่อนที่ ดีน รัสเซลล์ (Dean Russell) จะเสนอให้ชาวเสรีนิยมแบบคลาสสิกเลิกใช้คำว่า “เสรี” (liberal) และ “พวกเราที่รักเสรีภาพควรจดเครื่องหมายการค้าคำที่ดีงามและทรงเกียรติอย่างคำว่า “อิสรเสรี” (libertarian)…ไว้ใช้กันเอง” ลาบาดีเกิดก่อนที่กฎหมายธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve Act) ปี 1913 จะกำหนดเส้นทางอันถาวรสู่การรวมศูนย์ระบบธนาคารแบบในปัจจุบันถึง 15 ปี เขาจึงมีโอกาสได้เห็นผลกระทบที่เลวร้ายของระบบดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ประเด็นนี้เพิ่มน้ำหนักให้กับมุมมองที่เขานำเสนอในบทความชิ้นนี้ และช่วยให้บริบทที่กว้างขึ้นสำหรับการอ่านและวิเคราะห์บทความชิ้นนี้สำหรับชาวอิสรเสรีนิยมร่วมสมัยทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย.
The Center for a Stateless Society (www.c4ss.org) is a media center working to build awareness of the market anarchist alternative
Source: https://c4ss.org/content/60076
Anyone can join.
Anyone can contribute.
Anyone can become informed about their world.
"United We Stand" Click Here To Create Your Personal Citizen Journalist Account Today, Be Sure To Invite Your Friends.
Before It’s News® is a community of individuals who report on what’s going on around them, from all around the world. Anyone can join. Anyone can contribute. Anyone can become informed about their world. "United We Stand" Click Here To Create Your Personal Citizen Journalist Account Today, Be Sure To Invite Your Friends.
LION'S MANE PRODUCT
Try Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend 60 Capsules
Mushrooms are having a moment. One fabulous fungus in particular, lion’s mane, may help improve memory, depression and anxiety symptoms. They are also an excellent source of nutrients that show promise as a therapy for dementia, and other neurodegenerative diseases. If you’re living with anxiety or depression, you may be curious about all the therapy options out there — including the natural ones.Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend has been formulated to utilize the potency of Lion’s mane but also include the benefits of four other Highly Beneficial Mushrooms. Synergistically, they work together to Build your health through improving cognitive function and immunity regardless of your age. Our Nootropic not only improves your Cognitive Function and Activates your Immune System, but it benefits growth of Essential Gut Flora, further enhancing your Vitality.
Our Formula includes: Lion’s Mane Mushrooms which Increase Brain Power through nerve growth, lessen anxiety, reduce depression, and improve concentration. Its an excellent adaptogen, promotes sleep and improves immunity. Shiitake Mushrooms which Fight cancer cells and infectious disease, boost the immune system, promotes brain function, and serves as a source of B vitamins. Maitake Mushrooms which regulate blood sugar levels of diabetics, reduce hypertension and boosts the immune system. Reishi Mushrooms which Fight inflammation, liver disease, fatigue, tumor growth and cancer. They Improve skin disorders and soothes digestive problems, stomach ulcers and leaky gut syndrome. Chaga Mushrooms which have anti-aging effects, boost immune function, improve stamina and athletic performance, even act as a natural aphrodisiac, fighting diabetes and improving liver function. Try Our Lion’s Mane WHOLE MIND Nootropic Blend 60 Capsules Today. Be 100% Satisfied or Receive a Full Money Back Guarantee. Order Yours Today by Following This Link.